กลับมาดูสัญญาที่เพิ่งเซ็นต์ไป… อ้าว คิดดอกเบี้ยแบบรายเดือนเหรอนี่!? อย่าพลาดแบบนี้ ก่อนจะทำสัญญากู้ยืมเงินกับใคร คุณต้องแน่ใจก่อนว่าข้อตกลงในสัญญา เป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้มีเจตนาเอาเปรียบคุณและถูกต้องตามกฎหมาย เพราะบางครั้งตกลงกู้ยืมเงิน พร้อมสัญญายืมเงินเป็นกิจจะลักษณะ แต่พอถึงเวลาคืนเงิน กลับต้องจ่ายเงินก้อนยักษ์แบบ หูฉีกแบบไม่รู้ตัว ทำสัญญาอย่างไรไม่โดนโกง อ่าน 3 นาที อาจช่วยคุณปกป้องเงินตัวเองได้หลายตังค์
“เพราะการกู้ยืมเงินง่ายๆ เงินด่วนออนไลน์ อนุมัติไว ไม่หลอกลวง” ไม่มีอยู่จริง ยิ่งถ้าคุณคิดหาแหล่งเงินกู้ที่ได้เงินรวดเร็ว และไม่อยากมีเงื่อนไขคืนเงินที่ซับซ้อน บอกเลยว่า ยิ่งมีความเสี่ยงถูกเอาเปรียบ แบบนี้คุณควรทำสัญญากู้ยืมเงินอย่างไร? ไม่ให้โดนลูกหนี้โดนโกงเงินซะเอง วันนี้ LoanMe มีทริคมาบอกกัน…สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้ และเตรียมตัว ก่อนทำสัญญากู้ยืมเงิน
ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับดอกเบี้ยกู้ยืมที่ลูกหนี้ต้องรู้
ถาม: ดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด เท่าไหร่กันแน่?
ตอบ: ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะต้องไม่เกิน 15% ต่อปี (ยกเว้นจะมีกรณีมีกฎหมายพิเศษอื่นรองรับเช่นกรณี พิโคไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์ แต่คุณต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้ให้กู้นั้นมีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายจริง ไม่ใช่แอบอ้าง)
ถาม: เห็นมาไวๆ ดอกเบี้ย 10% ต่อเดือน ถูกจริงไหม?
ตอบ: ไม่จริง! แหล่งกู้ยืมนอกระบบมักใช้คำโฆษณาว่าดอกเบี้ยถูกเช่น 10% ต่อเดือน ต้องเอาดอกเบี้ยต่อเดือนมาคูณ 12 เพื่อหาว่าดอกเบี้ยต่อปีเป็นเท่าไหร่กันแน่ เช่น 10% ต่อเดือน x 12 เดือน = 120% ต่อปี ! เกินที่กฎหมายเกือบ10เท่า !
ถาม: ถ้าคิดเป็นต่อเดือนล่ะ อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ถูกกฎหมายเป็นเท่าไหร่?
ตอบ: คำตอบคือ 15% ต่อปี หาร 12 เดือน = 1.25%
ถาม: โดนหลอกเซ็นต์สัญญากู้ยืม ดอกเบี้ยผิดกฎหมาย อย่างนี้แปลว่าทุกอย่างเป็นโมฆะ ไม่ต้องชำระหนี้?
ตอบ: ไม่ใช่ เรายังต้องชำระเงินต้นคืนจนครบ แต่ดอกเบี้ยทั้งหมดจะถือเป็นโมฆะ (ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด ไม่ใช่เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกินร้อยละ 15 ต่อปี)
ถาม: ถ้ากู้เงิน แต่ได้เงินต้นมาไม่เต็ม กฎหมายมีแนวปฏิบัติอย่างไร
ตอบ: จำนวนเงินที่ระบุในเอกสารสัญญาในส่วนที่เกินมาจากจำนวนเงินที่ส่งมอบกันจริงถือว่าเป็น “ดอกเบี้ยต้องห้ามตามกฎหมาย”
กรณีตัวอย่าง ผู้ให้กู้ระบุสัญญากู้ยืม โดยคำนวณดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าและนำ มารวมกับเงินให้กู้จริงเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย ทั้งนี้หากอัตราดอกเบี้ยที่เอามาคำนวณนั้นเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วนของดอกเบี้ยถือเป็นโมฆะ เช่น นายกุ๊กไก่ให้กู้ยืมเงินจำนวน 10,000 บาทเป็นเวลา 1 ปี คิดดอกเบี้ยล่วงหน้า 5,000 บาท โดยระบุในสัญญากู้ว่ากู้ยืมเงินกัน จำนวน 15,000 บาท แต่ถ้าคิดดอกเบี้ยเป็นร้อยละจะเท่ากับ 50% ต่อปี (เพียงแต่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ยร้อยละในสัญญา) ดังนั้น เมื่อดอกเบี้ยคิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วนดอกเบี้ย 5,000 บาทจึงถือเป็นโมฆะ
ถาม: ถ้าสัญญาไม่ระบุดอกเบี้ยไว้ กฎหมายว่ายังไง?
ตอบ: 3% ต่อปี (เมื่อก่อนเป็น 7% แต่ในปี 2021 มีการแก้กฏหมายให้เห็น 3%)
ถาม: ทำสัญญากู้ยืม ไม่คิดดอกเบี้ยได้ไหม ต้องเขียนอย่างไร?
ตอบ: ได้ โดยในสัญญาควรเขียนชัดเจนว่า “คู่สัญญาตกลงกันว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน” หรือระบุว่า “ดอกเบี้ย 0%”
ถาม: ดอกเบี้ยคิดทบต้นได้ไหม?
ตอบ: ไม่ได้ ยกเว้นกรณีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้เป็นหนังสือว่า ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ในกรณีที่ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปีแล้วเท่านั้น
ทำสัญญาอย่างไรให้ปลอดภัยเรา?
Do (ทำ)
-
- ตรวจว่ายอดกู้ยืมในสัญญา ตรงกับที่เราจะได้เงินจริงหรือไม่?
- อ่านให้ดี ว่าดอกเบี้ยที่เขียนเป็นต่อเดือนหรือต่อปี หรือต่อวัน?
- ทำความเข้าใจเงื่อนไขให้ชัด ว่าต้องจ่ายคืนเมื่อไหร่? มีเป็นงวดไหม? แล้วถ้าผิดชำระจะเป็นอย่างไร?
- สังเกตให้ดี ว่าสัญญาไม่มีการเว้นวรรคหรือช่องไฟระหว่างคำ ที่อาจถูกนำไปเติมแต่งข้อความลงไป
- ทำสัญญา 2 ฉบับและตรวจให้มั่นใจว่าทั้งสองฉบับมีเนื้อความเหมือนกันและเก็บต้นฉบับขอบคุณไว้ให้ดี
- พิมพ์ลายนิ้วมือคุณลงไปในเอกสารต้นฉบับด้วยหมึกน้ำเงิน เพื่อป้องกันการถูกนำไปถ่ายเอกสารและป้องกันเขาไปลอกเลียนลายเซ็นต์ของคุณลอยๆเพื่อทำสัญญากู้ขึ้นมาอีกฉบับ
- หาพยาน และเก็บหลักฐานว่าเราได้รับเงินกู้จริงมาเท่าไหร่?
- เก็บหลักฐาน สลิปโอนเงินหรือใบรับเงินทุกครั้งที่ชำระเงินคืน ยิ่งโอนเงินผ่านธนาคารยิ่งดี
- เมื่อชำระเงินคืนครบแล้ว ขอสัญญาของผู้ให้กู้คืนมาเก็บหรือทำลายทิ้ง
Don’t (ห้ามเด็ดขาด)
-
- ห้ามเซ็นต์ สัญญาโดยไม่ได้อ่าน
- ห้ามเซ็นต์ ถ้ายังมีข้อความบางอย่างที่มีข้อความคลุมเครือ และคุณไม่เข้าใจมันดี
- ห้ามเซ็นต์ ชื่อไว้แล้วให้ผู้ให้กู้กรอกข้อความภายหลัง
สรุป
เริ่มต้นยืมเงินใครได้อย่างสบายใจ ไม่โดนโกง แนะนำว่า ก่อนทำสัญญายืมเงินกับใคร คุณควรอ่านสัญญาและข้อตกลงต่างๆ อย่างละเอียดทุกครั้ง และไม่ควรเซ็นต์ลายมือชื่อของตัวเอง ลงในสัญญาเปล่าเขียนมือแบบเด็ดขาดเพื่อป้องกัน การนำเอกสารนั้นไปปลอมแปลงภายหลัง และทุกครั้งของการทำสัญญา ควรมีพยานบุคคลรับรู้เรื่องราวๆต่างไว้ด้วย เพราะหากมีการดำเนินคดีทางกฎหมาย คุณจะได้มีหลักฐานที่ชัดเจนพอไว้ป้องกันตัวเอง
หากคุณอยากทำสัญญากู้ยืมเงินง่ายๆกับคนรู้จัก บนมือถือ ขอแนะนำ LoanMe แอปพลิเคชั่นจัดทำสัญญากู้ยืมอัตโนมัติผ่านมือถือ ที่ช่วยให้คุณทำสัญญากู้ยืมเงินอย่างถูกกฎหมาย ลดขั้นตอนคืนเงินที่ยุ่งยากด้วย ซึ่งระบบจะกำหนดข้อตกลงการกู้ยืมเงิน อย่างถูกกฎหมายไว้ให้แล้ว เพื่อความเป็นธรรมแก่ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ พร้อมฟังก์ชั่นจัดเก็บเอกสารสำหรับทำสัญญาและฟีเจอร์คำนวณดอกเบี้ยที่แสดงภาระคงเหลือในการชำระหนี้ล่าสุด ทดลองใช้ LoanMe ได้ฟรี โดยไม่มีค่าบริการ! ทั้ง Android และ iOS ที่ คลิก
ขอบคุณที่มา:
คู่มือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (กรมบังคับคดี)
ดอกเบี้้ยเกินกฎหมายกำหนด ลูกหนี้ไม่ต้องจ่ายดอก (web ทนายนิธิพล)