เมื่อการทำสัญญากู้ยืมเงินและกฎหมายกู้ยืม เป็นเรื่องยากสำหรับคุณ จนคุณรู้สึกว่า ให้ยืมเงินแบบไม่ต้องทำสัญญาดีไหม? เพราะไม่ต้องยุ่ง จัดทำจัดเก็บเอกสารวุ่นวาย…ขอบอกเลยว่า นี่แหละคุณกำลังสร้างปัญหา”ยืมแล้วไม่คืน” ให้กับตัวเองในอนาคต ถ้าคุณตกลงให้ยืมเงินแค่ปากเปล่า โอกาสได้เงินคืนจะน้อยลง แถมโอกาสผิดใจกับคู่สัญญาจะมากขึ้น เสี่ยงเสียทั้งเงิน เสียทั้งความสัมพันธ์ เพียงเพราะคุณไม่ได้หาข้อมูลถี่ถ้วน ก่อนตัดสินใจ
สัญญากู้ยืมเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมีรายละเอียดที่สำคัญหลายอย่าง วันนี้ LoanMe ขอสรุปสิ่งที่เจ้าหนี้ต้องรู้ ข้อควรระวัง ก่อนทำสัญญากู้ยืมเงิน แบบ”ครบจบในที่เดียว” มาให้
เลือกเรื่องที่คุณสนใจได้ตรงนี้
- สัญญากู้ยืมคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?
- สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ในการทำสัญญากู้ยืม
- ต้องระบุอะไรบ้างในสัญญากู้ยืม?
- เอกสารประกอบสัญญากู้ยืมมีอะไรบ้าง?
- วิธีลดความเสี่ยงจากการถูกเบี้ยวหนี้
- ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืมเงิน
สัญญากู้ยืมคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?
สัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญาชนิดหนึ่งตามกฏหมาย ที่ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมและหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือ โดยผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในเงินนั้นให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมมีข้อผูกพันต้องคืนเงินให้แทนเงินที่ยืมไป โดยสัญญาจะสมบูรณ์ เมื่อส่งมอบเงินที่ยืมตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา
อธิบายง่ายๆ คือ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจข้อตกลงตรงกันชัดเจน เพื่อความเป็นธรรม แก่ทั้งผู้ให้ยืมและผู้ยืม ซึ่งในการกู้ยืมเงินนี้จะมีดอกเบี้ยในการกู้ยืมด้วยหรือไม่ก็ได้
การมีสัญญาในมือ ยังช่วยให้คุณมีโอกาสได้รับเงินคืนก่อน ในกรณีที่คนที่มายืมเงินคุณไปยืมมาหลายคน เขาก็น่าจะคืนคนที่มีสัญญาก่อน จริงไหม!
หากคุณยังสงสัยว่า ถ้าให้ยืมก็แปลว่าเชื่อใจ ถ้าเชื่อใจก็แปลว่าไม่ต้องทำสัญญา ลองอ่านบทความนี้ดู สัญญากู้ยืม vs. สัญญาใจ
สิ่งที่ต้องรู้ในการทำสัญญากู้ยืม
ก่อนตัดสินใจทำสัญญากู้ยืมเงินทุกครั้ง นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้และทำการบ้านก่อน
- การกู้ยืมเงิน ในยอดน้อยกว่า 2,000 บาท (แบบปากเปล่า) และไม่มีสัญญากู้ยืมเงิน สามารถฟ้องเรียกร้องเงินคืนได้ แต่ถ้ากู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท และไม่มีหลักฐานหนังสือสัญญากู้ยืม จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้เลย ดังนั้น คุณควรทำสัญญากู้ยืมเงินจะดีกว่า
- กฎหมายกู้ยืมเงิน กำหนดไว้ว่า ต้องคิดดอกเบี้ยกู้ยืมเงิน ไม่เกินกว่า 15% ต่อปี หากมีการคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี การชำระคืนดอกเบี้ยจะเป็นโมฆะ แต่ในส่วนเงินต้นลูกหนี้ยังต้องชำระตามเงื่อนไขสัญญากู้ยืมเงิน
ทั้งนี้ทั้งนั้น สัญญากู้ยืมเงิน สามารถใช้ได้ทั้งแบบเขียน หรือแบบฟอร์มสัญญากู้ยืม แต่ต้องมีข้อความเกี่ยวกับการขอกู้และการลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเงิน (ไม่จำเป็นต้องมีลายมือชื่อของผู้ให้กู้)
ต้องระบุอะไรบ้างในสัญญากู้ยืม?
1. ข้อความที่แสดงถึงการกู้ยืมเงินระหว่างกัน:
จำเป็นต้องมี
-
- วันที่ทำสัญญา
- ชื่อผู้ให้กู้
- ชื่อผู้กู้
- โดยระบุจำนวนเงินที่กู้ยืม
- การลงลายมือชื่อยินยอมจากผู้กู้
มีหรือไม่มีก็ได้
-
- วันที่ชำระคืนหนี้
- อัตราดอกเบี้ย (หากไม่ได้กำหนด ตามกฏหมายให้ถือว่า ใช้อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ถ้าจะไม่คิดดอกเบี้ย ควรต้องเขียนชัดเจน)
- การลงลายมือชื่อยินยอมจากผู้ให้กู้
2. เงื่อนไขการชำระหนี้
-
- ผู้กู้ตกลงชำระหนี้เดือนละเท่าไหร่?
- ส่งมอบเงินคืนด้วยวิธีไหน?
- ครบกำหนดคืนเงินทั้งหมด ภายในวันที่เท่าไหร่?
3. เงื่อนไขการผิดนัดชำระหนี้ ควรระบุว่า เงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยทบต้น กรณีที่ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ค้างนานเกิน 1 ปี ในสัญญากู้ยืมเงิน
‘การคิดดอกเบี้ยทบต้น คือ คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีกทีหนึ่ง ทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ป้องกันการค้างชำระหนี้จากผู้กู้’
เอกสารประกอบการทำสัญญากู้ยืมเงิน
ผู้ให้กู้ต้องขอเอกสารประกอบสัญญา จากผู้กู้ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง
- สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ทะเบียนหย่า หรือ ใบมรณบัตร อย่างใดอย่างหนึ่ง
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
หากเป็นนิติบุคคล ให้ใช้สำเนาทะเบียนการค้า หรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
วิธีลดความเสี่ยงจากการถูกเบี้ยวหนี้
คุณไม่มีทางรู้หรอกว่า ลูกหนี้จะเบี้ยวหนี้หรือไม่? แต่จะดีกว่า ถ้าคุณป้องกันได้อย่างรัดกุม ด้วยวิธีเหล่านี้
- มีพยานรับรู้เรื่องกู้ยืมเงิน จากทั้ง 2 ฝ่าย จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ผู้ให้กู้และผู้กู้ ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายระมัดระวังในการทำตามข้อสัญญามากขึ้น ยิ่งมีพยานหลายคนและพยานมีอายุเยอะ จะช่วยให้เกิดความเกรงใจกันมากขึ้น
- เพิ่มลายนิ้วมือของผู้กู้ลงในเอกสารกู้ยืม วิธีนี้จะช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร สัญญาและข้อตกลงต่างๆ เพราะ ลายนิ้วมือจะเป็นสิ่งที่ผู้กู้ปฏิเสธไม่ได้ว่าปลอมแปลงเอกสาร *กรณีลงลายพิมพ์นิ้วมือจะต้องมีพยานรับรองลายนิ้วมือ 2 คน
- มีทรัพย์สินค้ำประกัน เป็นแผนสำรอง เพื่อลดความเสี่ยงการเบี้ยวหนี้ อย่างน้อยหากเกิดการเบี้ยวหนี้จริง คุณก็ยังได้เงินคืนในรูปแบบของทรัพย์สินที่อีกฝ่ายค้ำประกันไว้
- มีคนค้ำประกันเงินกู้ และ/หรือ ผู้กู้ร่วม วิธีนี้ช่วยป้องกันความเสี่ยงเบี้ยวหนี้ได้แบบสูงสุด เพราะจะต้องมีคนค้ำประกันเงินกู้ และผู้กู้ร่วม ซึ่งบุคคลทั้ง 2 จะต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ เพื่อรับผิดชอบความเสียหายถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวการกู้ยืมขึ้น
ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืมเงิน
ก่อนลงลายมือชื่อ ขอให้อ่าน จำนวนเงิน กำหนดการคืนเงิน และ และที่สำคัญต้องตรวจสอบ ชื่อ นามสกุล และหมายเลขบัตรประชาชนของผู้กู้ ด้วยว่าตรงกับในสัญญาจริง
นอกจากนี้ คุณควรทำสัญญากู้ยืมไว้ 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้และผู้ให้กู้เก็บไว้คนละฉบับ ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาเรื่องปลอมแปลงเอกสาร และกรณีที่เข้าใจผิดกันเรื่องข้อตกลงกู้ยืม
อย่าตกม้าตาย ลงทุนทำสัญญาทั้งทีแล้ว คุณต้องเก็บรักษาสัญญาและหลักฐานโอนเงินต้น ไว้ในที่ปลอดภัย และต้องเป็นที่ๆตัวคุณเองจำมันได้ดี เพราะอาจเป็นระยะหลายเดือน กว่าจะถึงวันครบกำหนดสัญญา มีสัญญาแต่หาไม่เจอ ไม่ต่างกับไม่มี
ในกรณีผู้กู้ต้องการยืมเงินเพิ่มจากยอดยืมเดิม ควรทำสัญญากู้ยืมขึ้นมาใหม่อีก 1 ฉบับ จะช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร หรือกรณีที่มีการแก้ไขตัวเลขเพิ่ม จะต้องลงลายมือชื่อจากผู้ให้กู้ด้วยว่ายอมรับการแก้ไข
สรุป
การทำสัญญากู้ยืมย่อมดีกว่าสัญญาใจอยู่แล้ว เพราะมีสัญญากู้ยืมเงิน เงื่อนไขกู้ยืมเงินและเอกสารสัญญาเหล่านี้ จะช่วยปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของเราได้ แต่การทำสัญญาที่รัดกุมก็มาพร้อมกับ ขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องมีเวลาศึกษาเนื้อหาที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าคุณคิดว่าการทำสัญญากู้ยืมเป็นเรื่องที่ยาก เรามีตัวทางเลือกดีๆ
ขอแนะนำ LoanMe แอปพลิเคชั่นจัดทำสัญญากู้ยืมเงินบนมือถือ ช่วยให้คุณไม่ต้องยุ่งยากเรื่องทำเอกสาร เพียงปลายนิ้วคุณก็ได้สัญญากู้ยืมเงิน ที่ใช้ทางกฎหมายได้ทันที พร้อมระบบจัดเก็บหลักฐานและคำนวณดอกเบี้ยคืนเงินอัตโนมัติ ช่วยลดภาระและปัญหาการคิดยอดเงินที่ผิดพลาด แอปดีๆที่ใช้ฟรีได้ โหลดใช้ LoanMe โดยไม่มีค่าบริการ! ทั้ง Android และ iOS ที่ ลิงค์นี้
ถ้าเรื่องสัญญากู้ยืมเงินเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ และคุณอาจเคยได้ยินว่า แชทใช้แทนสัญญากู้ยืมเงินได้ และถ้าให้ยืมเงินทางแชท ก็ปลอดภัยเหมือนกัน เรื่องนี้จริงหรือไม่? รออ่านต่อบทความต่อไปของเราได้ เร็วๆนี้
ข้อมูลบางส่วนของบทความนี้ อ้างอิงจาก:
คำแนะนำการทำสัญญากู้ยืม+ตัวอย่างแบบสัญญากู้ยืมเงิน (กระทรวงยุติธรรม)
กฎหมายกู้ยืมเงิน (สำนักงานกฎหมายและคดี)
ดอกเบี้ยกู้ยืมเงินตามกฎหมาย (ทนายคลายทุกข์)
ความรับผิดชอบผู้ค้ำประกัน (TerraBKK.com)