ปัญหาโลกแตกเรื่องให้ยืมเงินไปแล้วไม่ได้คืน ต้องทำอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ญาติหรือพี่น้องกัน ถ้าเรื่องนี้เจอกับตัวเองเข้าคงต้องเครียดอยู่ไม่น้อยเลยครับ ยิ่งสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ แม้จะพยายามเข้าใจว่าเศรษฐกิจไม่ดี ลูกหนี้เลยใช้คืนไม่ทัน แต่ก็ยังหงุดหงิดใจอยู่ดี แอบกังวลใจว่าเอ๊ะ…แล้วจะได้เงินคืนจริงใช่ไหม? พอบอกว่าจะหามีเงินคืนทันแน่นอน แต่ในภาวะแบบนี้การหาเงิน คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ ครั้งนี้ทีมงาน LoanMe ได้ไปสอบถาม จาก เพจทำคดี เพจสำนักงานทนายเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคดีแพ่ง คดีการกู้ยืมเงินครับ ถ้าให้ยืมเงินแล้วยังไม่ได้คืนซักที ลองพิจารณาทางเลือกต่างๆดังนี้
ส่งจดหมายทวงถามหนี้
หลายคนรู้จักกันว่า ยื่นโนติส (Notice) เป็นจดหมายระบุถึงเนื้อหาว่ามีการยืมเงินระหว่างเจ้าหนี้ลูกหนี้ เป็นจำนวน และดอกเบี้ยอยู่เท่าไหร่ ซึ่งได้ครบกำหนดชำระแล้ว พร้อมระบุเนื้อความในจดหมายว่า ต้องการให้ลูกหนี้คืนเงินภายใน 30 วัน หากไม่มีการจ่ายหนี้จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จดหมายทวงถามหนี้ สามารถทำเองได้ โดยหาตัวอย่างตาม internet หรือตามรูปข้างล่าง แต่ถ้าจะให้มีน้ำหนักและความถูกต้องครบถ้วน ควรติดต่อสำนักทนายความออกเป็นจดหมาย ซึ่งเจ้าหนี้ต้องแนบเอกสารหลักฐานการยืมเงิน ให้สำนักทนายใช้เป็นหลักฐานด้วยครับ เช่น สัญญากู้ยืมเงิน ข้อความแชท และสลิปการโอนเงิน เป็นต้น โดยหลักฐานนี้จะได้รับการตรวจสอบอีกครั้งจากสำนักงานทนายความ เพื่อยืนยันว่าหลักฐานข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริง ทั้งนี้การส่งจดหมายทวงถามหนี้ จะต้องส่งในรูปแบบจดหมายลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหลักฐานยืนยันว่าอีกฝ่ายได้รับรู้แล้วจริง
เมื่อตรวจสอบหลักฐานและทำจดหมายทวงถามหนี้เรียบร้อยแล้ว สำนักทนายจะส่งจดหมายทวงถามหนี้ไปยังที่อยู่ของลูกหนี้ หลังจากนั้นถ้าจะให้ดี ควรให้ทนายโทรติดตามผล เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หรือเจรจาเรื่องจ่ายหนี้ แต่หากทนายติดต่อไปแล้ว ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายใน 30 วัน ทางทนายจะเริ่มทำการฟ้องร้องที่ศาลต่อไปครับ ซึ่งทนายจะเตรียมเอกสารและหนังสือคำร้อง ใช้ยื่นฟ้องให้เจ้าหนี้เองเลย หลังจากยื่นเอกสารไปแล้ว ต้องรอประมาณ 3 – 6 เดือนครับ กว่าจะได้ฟ้องจริง (ปกติขั้นต้องการฟ้อง รอประมาณ 2 – 3 เดือน แต่ช่วงสถานการณ์โควิด อาจะทำให้ขั้นตอนการยื่นฟ้องในศาลช้าขึ้นได้ครับ)
โอนสิทธิชำระหนี้
เป็นการโอนสิทธิการเป็นเจ้าหนี้ให้อีกคนเข้ามาทำแทนและดูแลลูกหนี้ โดยโอนให้เป็นเจ้าหนี้คนใหม่ มาทำหน้าที่ทวงหนี้แทน หรือที่เรียกกันว่า การขายหนี้ให้อีกฝ่ายมาเป็นเจ้าหนี้แทนนั่นเอง ข้อดีคือ เจ้าหนี้ไม่ต้องมาปวดหัวกับเรื่องการทวงหนี้อีกต่อไป แค่ขายยอดหนี้ก้อนนี้ให้เจ้าหนี้คนใหม่มาจัดการเอง อีกทั้งสำนักงานทนายความแต่ละที มีความเชี่ยวชาญเรื่องการดำเนินงาน เกี่ยวกับคดีแพ่ง คดีการกู้ยืมแตกต่างกันครับ บางสำนักงานฯ ไม่ถนัดในเรื่องของการโอนสิทธิชำระหนี้นะครับ ดังนั้น แนะนำให้เจ้าหนี้ ตรวจสอบให้ดีก่อนเลือกสำนักทนายในการดำเนินการครับ
จ้างบริหารหนี้แทน
อีกหนึ่งวิธีในการทวงหนี้อย่างถูกกฎหมาย ด้วยการจ้างสำนักงานทนายความ ทวงหนี้และดำเนินการทางกฎหมายแทนทั้งหมด ตั้งแต่ โทรทวงถาม ติดตามหนี้ และส่งจดหมายทวงหนี้ ไปจนถึงดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมายให้ การบริหารหนี้แทน แตกต่างกับการโอนสิทธิชำระหนี้ ตรงที่วิธีนี้ให้ทนายช่วยทวงหนี้แทนอย่างถูกกฎหมาย โดยยอดหนี้ยังเป็นของเจ้าหนี้คนเดิมอยู่ มีค่าใช้จ่ายอยู่ครับ ทั้งนี้ สิ่งที่เจ้าหนี้ต้องเตรียมจะเป็นเรื่องหลักฐานการกู้ยืมเงินระหว่างกัน มากกว่าครับ ส่วนนี้สำคัญมากเพราะใช้เป็นหลักฐานในการว่าความในศาลได้
ปัญหาเรื่องการทวงเงินลูกหนี้โจทย์สำคัญอยู่ที่การทวงเงินอย่างไรให้ถูกกฎหมายและได้เงินคืนครบ แบบไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป หัวใจหลักอยู่ที่หลักฐานที่ใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายครับ จากเพจทำคดี ย้ำเสมอว่า การให้ยืมเงินกันไม่แนะนำให้ยืมแบบเงินสด ถ้ายืมแบบเงินสดต้องทำสัญญากู้ยืมครับ หากมีเพียงสลิปการโอน สำเนาบัตรประชาชน สามารถฟ้องร้องได้ครับ แต่ถ้าหลักฐานแน่นพอใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้สำเร็จเลยครับ ถ้าให้ยืมเงินกัน ควรให้ยืมกับแบบออนไลน์ โอนเงินบนมือถือดีกว่า แล้วอย่าลืมเก็บหลักฐานเพื่อใช้ดำเนินคดีทางกฎหมาย ดังนี้
- หน้าจอแคปข้อความที่ระบุการยืมเงินกันระหว่างเจ้าหนี้ – ลูกหนี้
- หน้าจอแคปบัญชีโซเชียลมีเดีย (ที่ใช้ตกลงยืมเงินกัน) ของลูกหนี้ เพื่อยืนยันตัวตนผู้ยืม
- สำเนา/รูปถ่าย หน้าและหลังบัตรประชาชนของลูกหนี้
- (หากทำได้) คลิปที่อัดเกี่ยวกับการยืมเงินกันระหว่างเจ้าหนี้ – ลูกหนี้
- Email หรือ screenshot จากแอป LoanMe
หากมีหลักฐานครบตามนี้ วางใจได้เลยครับว่าถ้าดำเนินคดีทางกฎหมายต่อได้เงินคืนอย่างแน่นอน ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก จากเพจทำคดี สำนักงานทนายที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคดีแพ่ง คดีการกู้ยืมเงินครับ สำหรับใครที่สนใจเกี่ยวกับการตามหนี้ทวงหนี้อย่างถูกหมาย แนะนำในเพจทำคดี มีทีมทนายที่พร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่ต้นตลอดจนการดำเนินคดีทางกฎหมายเลยครับ สุดท้ายแล้ว ทางทีมทนายจาก เพจทำคดี ยังฝากทิ้งท้ายไว้ว่า ถึงแม้ต้นทุนในการดำเนินคดีทางกฎหมายจะเสียเวลาบ้าง เสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องศาลบ้าง ค่าทนายในการดำเนินคดี แต่ถ้าก้อนหนี้นั้นเป็นเงินจำนวนมาก การใช้เครื่องมือทางกฎหมายและหลักฐานที่รัดกุม ยังไงเจ้าหนี้ก็ได้เงินคืนครับ
หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม หรือมีประสบการณ์ดีๆ แวะมาแชร์ให้ทีม LoanMe ได้ที่อีเมล support@loanme.asia
ขอบคุณข้อมูลจาก: เพจทำคดี