กู้ยืมเงิน กฎหมายที่ใกล้ตัวคุณ เมื่อเรื่องเงินทองไม่เข้าใคร…เวลามีคนมาขอยืมเงินเราหรือให้ใครยืมเงิน ก็มักจะเสิร์ชหาข้อมูลใน Google ว่าต้องทำอย่างไร? แต่พอถึงส่วนที่เป็นกฎหมายกลับมีอะไรซับซ้อนและเข้าใจยากมากกว่าที่คิด ทำให้เวลาจะทำเรื่องสัญญากู้ยืมเงินระหว่างกันๆ หลายคนกลับศึกษาแค่ข้อกฎหมายแบบผิวเผิน เพราะคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาตามมา
แต่พอเกิดปัญหาเรื่องยืมเงินหลังทำสัญญากู้ยืม ก็ต้องมานั่งศึกษาแล้วเสียใจกันทีหลัง …เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิด คุณควรจะศึกษาข้อกฎหมายไว้ก่อนตัดสินใจเรื่องเงินทองกับใคร จะดีกว่าถึงจะเป็นเรื่องเข้าใจยาก แต่ก็ช่วยป้องกันปัญหาเรื่องกู้ยืมเงินได้นะ ซึ่ง LoanMe เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี เราเลยสรุปมาให้แล้ว
กู้ยืมเงิน กฎหมาย เข้าใจยาก เราจะเล่าให้ฟังอย่างเข้าใจง่าย
- จะทำสัญญากู้เงิน แวะอ่าน กฎหมาย.กู้ยืมเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- ยืมเงินผ่านแชท ต้องดู พรบ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ทวงหนี้อย่างไร? ไม่ให้ผิดกฎหมาย
จะทำสัญญากู้เงิน แวะอ่าน กฎหมายกู้ยืมเงิน แพ่งและพาณิชย์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ระบุว่า การกู้ยืมเงินตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป ถ้าไม่ได้มีหลักฐานที่เป็นหนังสือ ที่มีการลงลายมือชื่อผู้ยืม จะใช้ฟ้องร้องคดีไม่ได้
ดังนั้น ตามกฎหมายกู้ยืมเงิน สิ่งสำคัญที่คุณจะต้องทำทุกครั้งเวลา ทำเรื่องกู้ยืมเงินกับใคร คือ ต้องมีสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งจะช่วยคุณสามารถเรียกร้องเอาผิดได้ หากโดนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบ (ผู้ให้กู้-ผู้กู้) ซึ่งในสัญญากู้ยืมเงินจะต้องระบุข้อความกู้ยืมเงิน ดังนี้
- ข้อความที่แสดงถึงการกู้ยืมเงินระหว่างกัน เช่น วันที่ทำสัญญา , ชื่อผู้ให้กู้ , ชื่อผู้กู้ ,จำนวนเงินที่กู้ยืม การลงลายมือชื่อยินยอมจากผู้ยืม
- อัตราดอกเบี้ยกู้ยืม (จะมีหรือไม่มีก็ได้)
- เงื่อนไขการกู้ยืมเงินที่ต้องมี เช่น จำนวนเงินที่ชำระหนี้ในแต่ละงวด , วิธีการชำระหนี้ , วันกำหนดคืนเงินเพื่อปิดสัญญา เป็นต้น
- เงื่อนไขการผิดนัดชำระหนี้ ควรระบุดอกเบี้ยทบต้นให้ชัดเจนในสัญญา เพื่อป้องกันกรณีที่ผู้กู้ค้างชำระเงิน 1 ปี โดยผู้ให้กู้สามารถให้ผู้กู้ชำระหนี้และดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ ตามเงื่อนไข
- เงื่อนไขชดใช้หนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงิน สามารถระบุเงื่อนไขนี้ได้ในสัญญา โดยทรัพย์สินที่นำมาชดใช้จะต้องมีมูลค่าเทียบเท่ากับหนี้ (เทียบมูลค่าทรัพย์สินโดยใช้ราคาตลาด ณ วันที่ส่งมอบสัญญา)
ข้อควรระวัง : ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี หากมีการคิดดอกเบี้ยเกิน ให้ถือว่าดอกเบี้ยที่ต้องชำระเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องชำระเพียงเงินต้นเท่านั้น!
เอกสารที่ต้องมีในการทำสัญญากู้ยืมเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ทะเบียนหย่า อย่างใดอย่างหนึ่ง
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้าเคยมีการเปลี่ยนมาก่อน)
กฎหมายกู้ยืมเงิน มีความซับซ้อน การทำสัญญากู้ยืมเงินอย่างเดียว อาจจะยังไม่พอ เพราะบางทีสัญญากู้ยืมเงินแบบกระดาษ มักเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมาย ที่ก่อให้เกิดปัญหากู้ยืมระหว่างกันได้ เช่น ในมุมเจ้าหนี้ มักเกิดการเบี้ยวหนี้ การปลอมแปลงเอกสารขึ้น แบบนี้คุณต้องทำอย่างไร? อ่านต่อ เจ้าหนี้จะลดความเสี่ยงจากการทำสัญญากู้ยืมเงินได้อย่างไร?
ขณะที่ลูกหนี้เอง บ่อยครั้งที่เจอปัญหา ข้อตกลงในสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ทำให้ต้องชำระหนี้มากกว่าที่ยืมไป หรือแม้กระทั่ง ปัญหาเงื่อนไขสัญญากู้ยืมที่คลุมเครือ จนทำให้โดนเอาเปรียบ เพื่อป้องกันปัญหาแนวนี้ เรามีวิธีแก้! อ่านต่อ สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้และเตรียมตัวไว้ก่อนทำสัญญากู้ยืมเงิน
แชทยืมเงิน ต้องดู พรบ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ระบุว่า การกู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ผ่านแชทในมือถือ สามารถใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเพื่อฟ้องร้องคดีตามกฎหมายได้แล้ว
การกู้ยืมเงินในรูปแบบ ข้อความ ตัวเลขหรือส่งเป็นเสียงในแชท ให้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ตกลงระหว่างกันและใช้ฟ้องร้องได้
แชทยืมเงิน ผ่าน Line หรือ Facebook ถึงจะเป็นเรื่องที่ทำง่ายๆกว่าสัญญากู้ยืมเงิน แต่แชทยืมเงินก็เต็มไปด้วยช่องโหว่ที่อันตราย ที่ทำให้คนเอาผิดกันไม่ได้เวลาเกิดปัญหา อ่านต่อ ช่องโหว่เวลาใช้แชทให้ยืมเงิน
ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย
เมื่อถึงเวลาการชำระหนี้ แต่เกิดปัญหาการเบี้ยวหนี้ขึ้น จนเจ้าหนี้ต้องตามทวงหนี้ ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องคดีตามกฎหมายได้ กรณีที่การทวงหนี้เป็นไปในรูปแบบ ข่มขู่ คุกคาม และประจานลูกหนี้ให้เสียหาย
ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 11 ได้ระบุว่า ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะ ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง, ใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่นและเผยแพร่ความเป็นหนี้ของลูกหนี้
ภาพประกอบ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือสร้างความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้
- ใช้คำพูดหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้
- เปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้
- แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ติดต่อลูกหนี้ เว้นแต่ แจ้งเพื่อมีเจตนาต้องการติดต่อลูกหนี้ให้ได้
- ติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือผ่านสื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่ กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ กรณีเจ้าหนี้ติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น
- ใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงหนี้
ถ้าลูกหนี้หรือบุคคลอื่นได้รับการปฏิบัติจากผู้ทวงถามหนี้ที่เป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจําจังหวัด
สำหรับต่างจังหวัด หากต้องการร้องเรียนเรื่องทวงถามหนี้ สามารถแจ้งได้ ที่ทำการปกครองจังหวัดและกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยลงลายมือชื่อในหนังสือ ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานมีหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมทวงถามหนี้ประจำจังหวัดต่อไป
การศึกษากฎหมาย ก่อนจะตกลงเรื่องเงินทองกับใคร เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะอย่างน้อยก็ช่วยให้คุณมีข้อมูลก่อนการตัดสินใจและรู้วิธีหลบหลีก ป้องกันตัวเองทางกฎหมาย ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย จะได้ไม่โดนเอาเปรียบเพราะความไม่รู้ของตัวเอง
คุณกำลังตัดสินใจทำสัญญากู้ยืมใช่หรือไม่? เรามีตัวช่วยดีๆมาแนะนำ…
LoanMe เป็นทางเลือกดีๆที่ช่วยให้คุณทำสัญญากู้ยืมเงินบนมือถือแบบง่ายๆ โดยช่วยลดความกังวลเรื่องเงื่อนไขทางกฎหมาย ที่ฟังก์ชั่นทำสัญญากู้ยืมออนไลน์ และโปรแกรมคำนวณดอกเบี้ยที่สะดวกแก่ผู้ใช้งาน และระบบแจ้งเตือนการชำระหนี้เมื่อใกล้ครบกำหนด ทดลองใช้ LoanMe ได้ฟรี โดยไม่มีค่าบริการ! ทั้ง Android และ iOS ที่ลิงค์นี้
คุณกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการยืมเงินอยู่ใช่ไหม อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินก่อนใครได้ที่ คลิก
ที่มา
กู้ยืมทาง LINE/Facebook (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
พระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค)
รู้สิทธิ์ลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติ (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค)